ศูนย์เต้านม ศูนย์เต้านม
ศูนย์เต้านม
โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง
ศูนย์เต้านม
ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ให้บริการตรวจ วินิจฉัยและรักษาอาการผิดปกติของเต้านมรวมถึงมะเร็งเต้านมด้วยยาและการผ่าตัด โดยมีทีมแพทย์สหสาขาเชี่ยวชาญด้านต่างๆวางแผนการรักษาและดูแลผู้ป่วยร่วมกันอย่างครบวงจรณ์เพื่อพิจารณาแผนการรักษาอย่างเหมาะสมรวมถึงการวางแผนลำดับการรักษาต่างๆที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายที่สุดโดยเฉพาะโรคที่มีความซับซ้อนสูง

 

ศูนย์เต้านม

ศูนย์เต้านม โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง ให้บริการตรวจ วินิจฉัยและรักษาอาการผิดปกติของเต้านมรวมถึงมะเร็งเต้านมด้วยยาและการผ่าตัด โดยมีทีมแพทย์สหสาขาเชี่ยวชาญด้านต่างๆวางแผนการรักษาและดูแลผู้ป่วยร่วมกันอย่างครบวงจรณ์เพื่อพิจารณาแผนการรักษาอย่างเหมาะสมรวมถึงการวางแผนลำดับการรักษาต่างๆที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายที่สุดโดยเฉพาะโรคที่มีความซับซ้อนสูง

ทางศูนย์ฯให้บริการตรวจผู้ป่วยด้วยเครื่องมือที่ใหม่และทันสมัยเพื่อวินิจฉัยภาวะต่างๆตั้งแต่โรคพบบ่อยจนถึงโรคหายากด้วยการใช้เครื่องมือขั้นสูงเช่น digital mammogram, 3D mammogram, MRI เต้านม, contrasted-enhanced digital mammogram (CEDM), และ molecular breast imaging (MBI)

สำหรับมะเร็งเต้านมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาการรักษาอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายโดยใช้หลักการแพทย์แม่นยำ (Precision Medicine) เพื่อเลือกวิธีการรักษาจากการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของผู้ป่วยและยีนที่พบในมะเร็งและให้บริการการรักษาด้วยการผ่าตัดด้วยเทคนิคทันสมัยเพื่อลดระยะเวลาการทำหัตถการและการพักฟื้นรวมถึงการผ่าตัดเต้านมออกและการเสริมเต้านมในคราวเดียวกัน

 

 

วิธีการผ่าตัดมะเร็งเต้านมต่างๆ

การผ่าตัดมะเร็งเต้านมในปัจจุบันมีวิธีผ่าตัดต่างๆที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายโดยขึ้นอยู่กับระยะของโรคและสภาวะร่างกายของผู้ป่วยและแพทย์จะให้คำแนะนำว่าการผ่าตัดแบบใดดีสำหรับผู้ป่วยที่สุด

การผ่าตัดวิธีต่างๆมีดังนี้:

  • ● Lumpectomy – เป็นการตัดเนื้อเยื่อเต้านมออกโดยเป็นการผ่าตัดแบบสงวนเต้า (Breast-conserving surgery) ศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดก้อนเนื้อออกและเนื้อเยื่อรอบข้างประมาณ 1-2 ซม ซึ่งวิธีการนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีก้อนเนื้อขนาดเล็กแต่หากผู้ป่วยมีก้อนขนาดใหญ่อาจใช้เคมีบำบัดเพื่อลดขนาดก้อนเนื้อก่อนแล้วจึงมาผ่าตัดด้วยวิธี Lumpectomy
  • ● Mastectomy – เป็นการผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมดโดยการตัดเนื้อเยื่อทั้งหมดและส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่นท่อน้ำนม เนื้อเยื่อไขมันรวมถึงหัวนมและลานหัวนม ปัจจุบันมีเทคนิคการผ่าตัดแบบสงวนผิวหนังและสงวนหัวนมซึ่งนิยมกันมากขึ้น
  • ● Sentinel node biopsy – เป็นการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองไม่กี่จุดเพื่อตรวจว่ามะเร็งกระจายเข้าไปยังต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ หากตรวจแล้วไม่พบมะเร็ง โอกาสที่มะเร็งจะมีการแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองอื่นๆมีโอกาสค่อนข้างต่ำจึงไม่จำเป็นต้องตัดต่อมน้ำเหลืองออกเพิ่มเติม
  • ● Axillary lymph node dissection – เป็นการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองปริมาณหนึ่งใต้รักแร้
  • ● ผ่าตัดเต้านมออกทั้งสองข้างโดยความต้องการของผู้ป่วยในการผ่าตัดเต้านมข้างที่ไม่เป็นมะเร็งออกเพื่อลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งอีกข้างในอนาคตโดยพิจารณาจากการที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมประกอบกับผลตรวจทางพันธุกรรมกับประวัติครอบครัวชี้ว่ามีความเสี่ยงสูง อย่างไรก็ตามผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่เป็นในอีกข้างหนึ่ง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อประกอบการตัดสินใจ

 

  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์เต้านม ชั้น B1 โรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมือง

โทรศัพท์ 02 220 7999 

สนใจแพ็กเกจ : คลิก